ร้านขาย อะแดปเตอร์ – หม้อแปลงไฟฟ้า ใช้กับ กล้องวงจรปิด โน้ตบุ๊ค ทีวี หรือเครื่องใช้ไฟฟ้าต่าง ๆ ทั้งขนาดเล็กและใหญ่ ในแหล่งขายส่ง บนทำเลบ้านหม้อ คลองถม ที่ตอบโจทย์การใช้งานของคุณได้หลากหลาย มีตัวเครื่องที่ได้มาตรฐานในการใช้งาน เราคัดสรรอุปกรณ์ที่ช่วยจ่ายกระแสไฟที่ดีเยี่ยมให้กับเครื่องใช้ไฟฟ้าของคุณ

ร้านขายหม้อแปลงบนพื้นที่ บ้านหม้อ คลองถม ตอบโจทย์เลือกซื้อได้ดั่งใจ

หากลูกค้ากำลังมองหาหม้อแปลงอะแดปเตอร์ไฟฟ้าขนาดต่าง ๆ คงไม่ต้องมองหาที่ไหนไกลอีกแล้ว เพราะที่านขายส่ง HVGROUP พร้อมให้คุณได้ค้นพบกับสินค้าที่ถูกใจ

เรามีหม้อแปลงไฟฟ้าให้เลือกหลากหลายขนาด และราคาไม่แพงจนเกินเอื้อม ใช้งานได้ทั้งสำหรับเครื่องใช้ไฟฟ้าขนาดเล็กและใหญ่ คัดสรรสินค้าที่มีคุณภาพเป็นพิเศษ เพื่อป้องกันอันตรายจากกระแสไฟที่ไหลผ่านไปมาอยู่ด้านใน ตัวสายไฟคุณภาพสูง ฉนวนอย่างดี สามารถปกป้องสายไฟด้านในไม่ให้เสียหายได้ง่าย ๆ หมดกังวลสายไฟขาด หรือเสื่อมสภาพก่อนเวลา

รู้หรือไม่ อะแดปเตอร์คืออะไร ? แล้วจำเป็นแค่ไหนที่ต้องรู้จัก ?

อุปกรณ์ไฟฟ้าอย่าง อะแดปเตอร์ หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่าหม้อแปลงไฟฟ้า (Adaptor) คือ ตัวช่วยที่จะเข้ามาเปลี่ยนพลังงานไฟฟ้ากระแสสลับให้กลายเป็นกระแสตรง จ่ายไฟเข้ากับอุปกรณ์ไฟฟ้าต่าง ๆ ได้ มีความต่างศักย์ 220 โวลต์ โดยในการเปลี่ยนให้เป็นกระแสตรงหรือ DC นั้น จะมีความต่างศักย์ที่แตกต่างกันออกไป เพื่อให้ไฟฟ้าส่งเข้าไปยังเครื่องใช้ไฟฟ้าต่าง ๆ ได้ไม่ขาดไม่เกิน จนทำให้เกิดความเสียหาย ดังนั้นเมื่อเราจำเป็นต้องเลือกซื้อหม้อแปลงไฟฟ้าที่ใช้งานสำหรับแปลงไฟ คำตอบคงบอกเอาไว้แล้วว่า “จำเป็นแค่ไหน” ที่เราต้องเข้าใจการทำงานของมัน เพราะถ้าซื้อมาใช้งานแบบมั่ว ๆ อาจใช้งานไม่ได้ หรือใช้งานได้ แต่กระแสไฟฟ้าไม่ตรงกัน เกิดความเสียหายกับอุปกรณ์ตามมา ทีนี้จะกลายเป็นปัญหาใหญ่ในที่สุด ขอแนะนำว่าใครจำเป็นต้องใช้อะแดปเตอร์หรือหม้อแปลงไฟเหล่านี้แล้วล่ะก็ ลองหาข้อมูลการใช้งานกันสักหน่อย จะได้ไม่พลาดซื้อสินค้าผิดรุ่น หรือไม่ได้คุณภาพตามมานั่นเอง

หลักการทํางานหม้อแปลงไฟฟ้า ทำงานอย่างไร ?

หลักการทำงานของอุปกรณ์ชนิดนี้ ถ้าพูดให้ง่ายคือทำหน้าที่ดึงไฟจากแหล่งจ่ายไฟฟ้ากระแสสลับเข้าสู่ขดลวดด้านใน ด้วยหลักการเหนี่ยวนำระหว่างแกนแม่เหล็กกับขดลวดที่มีจำนวนขดแตกต่างกันออกไป

แรงดันไฟที่เข้ามาจะมากหรือน้อยนั้นก็ขึ้นอยู่กับจำนวนรอบของขดลวดด้านใน ซึ่งจะแบ่งออกเป็นแบบปฐมภูมิ ที่กระแสไฟจะถูกเหนี่ยวนำเข้าไป ก่อนจะส่งต่อไปที่ปลายขดลวดทุติยภูมิ ในการส่งต่อนี้เองที่จะมีการแปลงแรงดันไฟฟ้า ก่อนส่องออกไปยังเครื่องใช้อิเล็กทรอนิกส์ทั้งหลาย

ถ้าหากเป็นหม้อแปลงแบบลดแรงดัน ขดลวดที่ปฐมภูมิมีน้อยกว่าตรงทุติยภูมิ จะเป็นชนิดลดแรงดัน แต่ถ้าสลับกัน ที่ทุติยภูมิมีขดลวดมากกว่า ก็เท่ากับว่าเป็นชนิดเพิ่มแรงดัน

สวิทชิ่งกับหม้อแปลง สองสิ่งนี้แตกต่างกันอย่างไร ?

ถ้าจะพูดถึงหม้อแปลงไฟฟ้า เชื่อว่าเป็นคำเรียกที่คุ้นหูกับคนทั่วไปมากกว่าคำว่าสวิทชิ่ง ซึ่งทั้งสองสิ่งนี้เอาจริงแล้วคือตัวช่วยในวงจรอิเล็กทรอนิกส์ ทำหน้าที่ในการเปลี่ยนแรงดันไฟฟ้าเหมือนกัน ดังนั้นความแตกต่างของเจ้าสองตัวนี้อยู่ที่อะไรล่ะ ?

หลักการทำงานของหม้อแปลงหรืออะแดปเตอร์

อย่างที่บอกไปด้านบนว่าหม้อแปลงทำหน้าที่หลัก ๆ เลยคือเปลี่ยนกระแสไฟสลับให้เป็นกระแสตรงเข้าสู่เครื่องใช้ไฟฟ้าต่าง ๆ ด้วยแรงดันที่เหมาะสมตามขนาดหม้อที่เราเลือกใช้นั่นเอง โดยตัวหม้อแปลงขนาดใหญ่ของวงจรจะเป็นหัวใจหลัก ทำหน้าที่ลดหรือเพริ่มแรงดันไฟฟ้าให้เหมาะสม และจ่ายกระแสไฟฟ้าเข้าสู่เครื่องใช้อิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ ให้เพียงพอ

ตามด้วยไดโอด ทำหน้าที่ในการทำให้กระแสที่สลับกันอยู่ได้รับการจัดเรียงกลายเป็นกระแสตรง ก่อนจะถูกส่งไปยังคอนเดนเซอร์อีกรอบเพื่อกรองให้ได้กระแสไฟฟ้าที่มีแรงดันสม่ำเสมอ

ดังนั้นจึงไม่แปลกถ้าเราจะเห็นว่า เราสามารถใช้งานเสียบลำโพงอันเล็กกับไฟบ้านที่มีแรงดันถึง 220V ได้ ก็ด้วยการทำหน้าที่ของเจ้าหม้อแปลงช่วยปรับลดแรงดันนั่นเอง

ข้อดีของอุปกรณ์ชิ้นนี้ก็คือหาซื้้อได้ง่ายทั่วไป ใช้งานง่าย เพราะคุ้นหูคุ้นคากันดี ราคาต่ำ ปรับแรงดันไฟให้สูงหรือต่ำได้ตามต้องการด้วยการเลือกตัวหม้อแปลง

ข้อเสียของมันก็คือขนาดที่เทอะทะ ถ้าส่วนที่เรียกว่าเรกกูเรตเสียขึ้นมา ก็จะทำให้ตัวแปลงรวน แรงดันไม่สม่ำเสมอ อาจส่งไปยังเครื่องใช้ไฟฟ้าสูงเกินไป จนทำให้เกิดความเสียหายได้

หลักการทำงานของสวิทชิ่ง หรือ Switching Power Supply

มาถึงส่วนของสวิทชิ่ง หน้าตาของอุปกรณ์ชนิดนี้จะแตกต่างจากแบบแรกมากพอสมควร เป็นเทคโนโลยีการผลิตใหม่เพื่อช่วยให้การจ่ายไฟฟ้ามีความเสถียรมากขึ้น ตัวนี้จะไม่มีหม้อแปลงเป็นตัวกลาง แต่ทำหน้าที่ในตัวเองเลยคือเปลี่ยนกระแสตรงเป็นสลับให้ในตัวเอง และทำหน้าที่ลดแรงดันไฟบ้าน จาก 220V ให้เหลือน้อย ๆ ตามการใช้งานได้ในตัวเองเลย

โดยจะมีหัวใจหลักเป็นคอนเวอร์เตอร์ เปลี่ยนกระแสไฟฟ้ากระแสตรงที่มาจากวงจรฟิวเตอร์และเรกติไฟเออร์ให้เป็นกระแสสลับแบบ “ความถี่สูง” ก่อนจะแปลงกลับไปอีกให้กลายเป็นกระแสตรงที่มีแรงดันต่ำ กระแสไฟส่งต่อให้วงจรคอนเวอร์เตอร์ ซึ่งจะมีวงจรควบคุมส่งแรงดัน output ออกไปให้เหมาะสมกับเครื่องใช้ไฟฟ้า

ตัวเครื่องออกแบบให้มีขนาดเล็ก น้ำหนักเบา ซึ่งเป็นข้อดีที่แตกต่างจากแบบแรก อีกทั้งช่วยป้องกันแรงดันได้ดี หากมีกระแสเกินผิดปกติ ระบบจะตัดวงจรให้อัตโนมัติ เครื่องใช้ไฟฟ้าไม่เสียหาย ส่วนข้อเสียนั้น ด้วยการทำงานที่มีความละเอียดกว่า ทำให้มันมีราคาแพง

เนื่องจากมีการทำงานที่ละเอียดซับซ้อน ขนาดเล็กลง จึงเปราะบางกว่าแบบแรกอย่างชัดเจน การซ่อมทำได้ยากกว่า และมักจะรบกวนเครื่องใช้ไฟฟ้าตัวอื่น ๆ รวมถึงบางครั้งจะพบว่ามีกระแสไฟฟ้ารั่ว ซึ่งเกิดจากฟิลเตอร์ของมันดูดคนที่ใช้งานได้

สรุปสั้น ๆ ความต่างก็คือตัววงจรที่ใช้ในการแปลงไฟฟ้ากระแสสลับเป็นกระแสตรง ถ้าเป็นหม้อแปลงจะใช้ไดโอด ส่วนสวิทชิ่งจะเป็น “คอนเวอร์เตอร์” อีกทั้งราคาที่ต่างกันอยู่มาก

เอาเป็นว่าทั้งสองแบบล้วนมีข้อดีและข้อเสียในตัวเอง ก็ขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของผู้ซื้อใช้งานว่าจะเลือกแบบไหนที่เหมาะสมกับความต้องการ

ชนิดของหม้อแปลงไฟฟ้า แบ่งประเภทยังไงบ้าง ?

ประเภทของหม้อแปลงไฟฟ้า ถ้ามองด้วยตาเปล่า เราจะเห็นความแตกต่างกันอยู่ 3 แบบคือ หม้อแปลง 1 เฟส และแบบ 3 เฟส ซึ่งมีขนาดใหญ่ยักษ์ ใช้งานอยู่บนเสาไฟฟ้าเป็นส่วนใหญ่ที่เราเห็นทั่ว ๆ ไปนั่นเอง และแบบขนาดเล็กใช้งานในระบบอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งหากจำแนกตามกำลังไฟฟ้า จะแบ่งออกเป็น 4 ประเภทด้วยกัน ดังนี้

  1. กำลังไฟน้อย – 1VA นิยมใช้งานสำหรับการเชื่อมสัญญาณ
  2. กำลังไฟตั้งแต่ 1-1000VA ใช้กับเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้านที่มีขนาดเล็ก
  3. กำลังไฟตั้งแต่ 1kVA – 1MVA ถือว่ามีกำลังไฟสูง ใช้กับที่พักอาศัยทั่วไป แต่มักนิยมใช้ในสำนักงานและโรงงานมากกว่า
  4. กำลังไฟตั้งแต่ 1MWA ขึ้นไป เป็นหม้อแปลงที่จะใช้กับการทำงานในสถานีไฟฟ้าย่อยที่มีการผลิตและจ่ายไฟเข้าสู่ระบบ

ข้อควรรู้ก่อนเลือกซื้อกับขนาดหม้อแปลง แบบไหนที่ใช่สำหรับคุณ ?

อุปกรณ์แปลงกระแสไฟฟ้าเหล่านี้ต้องทำความเข้าใจก่อนเลือกซื้อ มิเช่นนั้นจะกลายเป็นซื้อผิดชีวิตเปลี่ยน อุปกรณ์พัง ตังค์ก็ต้องเสีย ที่เจอบ่อย ๆ ก็จะเป็นอุปกรณ์โน้ตบุ๊คที่มักจะเลือกซื้ออะแดปเตอร์ผิดพลาด ได้กระแสไฟที่จ่ายเข้าเครื่องไม่ตรงรุ่น จนทำให้เกิดความเสียหาย

ในการเลือกซื้อจะต้องพิจารณาค่า Input ซึ่งเป็นไฟเข้า ค่าตรงนี้จะหมายถึงว่าอะแดปเตอร์เสียบกับไฟบ้านขนาดกี่โวลต์ ถ้าเป็นในไทยมักจะไม่ใช่ปัญหา ที่มีขายในท้องตลาดรองรับไฟบ้าน 220V ให้อยู่แล้ว ซึ่งอาจจะมีไฟตกไฟเกินบ้างก็เล็กน้อย แต่สิ่งที่จะต้องใส่ใจคือตัว Output ดอกจันทร์เอาไว้เลยว่า “สำคัญมาก” เพราะเป็นไฟขาออกเข้าสู่เครื่องใช้ไฟฟ้า ค่าที่บอกจะมีแรงดัน, แอมป์ และกำลังวัตต์ ที่ตรงกันจึงจะใช้งานได้

ถ้าส่วนตัวเลขต่าง ๆ ด้านบนเท่ากันแล้ว ทีนี้ก็ต้องมาดูว่าแบบไหนที่เหมาะสมกับตัวคุณ ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับว่าคุณใช้กับอุปกรณ์อะไร ขนาดของหัวเสียบจะต้องเท่ากัน โดยทั่วไปมาตรฐานในท้องตลาดจะอยู่ที่ 5.5×2.1 mm. เป็นชนิดแกนเล็ก และมีบางส่วนที่เป็นแกนใหญ่ ซึ่งขนาดมักจะอยู่ที่ 5.5×2.5 mm. นอกเหนือจากนี้จะเป็นหัวที่มีขนาดเล็กมาก ไม่ใช่มาตรฐานทั่วไป ถ้าไม่รู้ว่าหัว Jack มีขนาดเท่าไหร่ ทางที่ดีคือเอาของเดิมไปวัดกับของใหม่กันแบบชัด ๆ ไปเลย จะได้ไม่พลาด

วิธีดูแอมป์หม้อแปลงไฟฟ้า เพื่อเลือกใช้ให้ตรงกับอุปกรณ์

แอมป์คือปริมาณการจ่ายกระแสไฟของอะแดปเตอร์ ปกติค่าแอมป์ของอุปกรณ์แปลงกระแสไฟเหล่านี้จะมีระบุเอาไว้ที่ตัวเครื่องอยู่แล้วว่าจะต้องเลือกใช้ค่าเท่าไหร่ เช่น ค่า output อยู่ที่ 9V 2A ก็ต้องใช้แอมป์ขนาด 2A ขึ้นไป ซึ่งค่านี้จะหมายถึงความสามารถในการจ่ายไฟได้อยู่ที่ 2000mA นั่นเอง ทั้งนี้ค่าดังกล่าวจะมีความยืดหยุ่น ไม่ว่าจะเป็นค่า Input หรือ Output ก็ตาม ให้เลือกใช้รุ่นที่ตรงกัน หรือมีค่าสูงกว่าเท่านั้น ห้ามต่ำไปกว่าค่าหลักอย่างเด็ดขาด

วิธีเช็คเบื้องต้นว่าหม้อแปลงเสียหรือไม่ ?

วิธีสังเกตดูว่าตัวเครื่องส่งกระแสไฟเสียหายหรือไม่ สังเกตเบื้องต้นง่าย ๆ เลยคือ ไม่มีไฟเข้าอุปกรณ์ แม้ว่าจะลองเปลี่ยนเต้าเสียบ ขยับ Jack หรือจะถอดเข้าออก เสียบใหม่แล้วก็ตาม อาจเข้าข่ายว่า อะแดปเตอร์ได้อวสานชีวิตไปแล้วก็ได้ หรือเป็นไปได้ว่าขั้วต่อสายไฟไม่แน่น อันนี้ลองถอดแล้วเสียบกลับเข้าไปใหม่

ถ้ายังใช้ไม่ได้ ให้ลองทดสอบด้วยตัวเอง หรือไปให้ช่างดูให้โดยการใช้มิเตอร์วัดแรงดัน ดูว่าขั้วไฟมีค่าโวลต์ออกมาตรงกับหม้อแปลงหรือเปล่า นอกจากนี้ถ้าสมมติคุณใช้กับอุปกรณ์อย่างมือถือ, โน๊ตบุค ที่มีแบตเตอรี่ในตัว หากมีอายุการใช้งานยาวนาน แบตฯ เสื่อมอยู่แล้ว อาจจะเกิดขึ้นจากตัวแบตฯ ที่ชาร์จไม่เข้าแล้ว เพราะหมดสภาพ ไม่ใช่ที่ตัวอะแดปเตอร์ก็เป็นได้ ส่วนอีกกรณีที่ต้องลองสังเกตว่าเสียจริง หรือเสียหลอก คือหม้อแปลงอะแดปเตอร์ไม่ได้มาตรฐาน ซื้อมาใช้งานแล้วไฟไม่เข้า ชาร์จไม่ได้ จริง ๆ อาจจะไม่ได้เสีย แต่เกิดจากการจ่ายกระแสไฟ (แอมป์) ได้น้อย แรงดันไฟเลยตก เลยทำให้อุปกรณ์ไฟฟ้าใช้งานไม่ได้ ไม่เสียก็คงจะเหมือนเสียนั่นแหละ…

การบํารุงรักษาหม้อแปลงไฟฟ้าให้ถูกวิธี เพิ่มอายุการใช้งานให้นานขึ้น

หม้อแปลงไฟฟ้า เหล่านี้มีความสำคัญในการใช้งานในชีวิตประจำวันของเราเป็นอย่างมาก เพราะมันมักจะถูกใช้งานตลอดเวลา โดยเฉพาะกับโน้ตบุค และมือถือสมาร์ทโฟนทั้งหลาย ดังนั้นเพื่อให้ไม่เสื่อมสภาพก่อนเวลาอันควร จะต้องได้รับการดูแลรักษาให้ถูกวิธี

เริ่มตั้งแต่ตัวสายที่มักจะถูกม้วนเก็บแบบลวก ๆ เสี่ยงที่จะทำให้สายหักใน การเก็บที่ดีควรใช้อุปกรณ์ที่เรียกว่า “ปีกเก็บสาย” แต่อย่างไรก็ตามการม้วนเก็บแบบผิด ๆ ก็อาจทำให้สายไฟด้านในงอและขาดได้เมื่อใช้ไปนาน ๆ ดังนันการเก็บจะต้องดูให้มั่นใจว่าสายไม่ได้พันกับสายอีกด้าน และทำการม้วนสายพอหลวม ไม่ให้แน่นมากเกินไป อย่าม้วนจะสายตึง เพราะเสี่ยงที่ส่วนขั้วต่อกับหม้อแปลงอะแดปเตอร์จะหักเอาได้

การเก็บอุปกรณ์เหล่านี้ก็สำคัญ ไม่ควรวางไว้ในที่ ๆ มีอากาศร้อนจัด หรือในพื้นที่ชื้นอย่างเด็ดขาด เพราะจะทำให้ฉนวนด้านนอกละลาย หรือถ้าเอาไว้ในที่ชื้นอาจทำให้เกิดสนิมตามมา ไฟด้านในทำงานไม่เสถียร เกิดการช็อต ไฟรั่ว เป็นอันตรายตามมาได้

นอกจากนี้อย่าเสียบขากับเต้าเสียบที่หลวม เพราะจะทำให้เกิดไฟช็อตและไหม้เป็นรอยดำ ใช้งานต่อไม่ได้ ซึ่งล้วนเป็นอันตราย และทำให้อุปกรณ์เสียหายไปถึงเครื่องใช้ไฟฟ้าได้เลยทีเดียว

จะเห็นได้ว่าเครื่องใช้ไฟฟ้าเหล่านี้ล้วนมีรายละเอียดที่มากมายพอสมควรในการซื้อหามาใช้งาน แถมยังเป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องมีในยุคนี้อีกด้วย การทำความเข้าใจระบบต่าง ๆ ของอะแดปเตอร์จึงไม่ใช่เรื่องเสียเวลา แต่กลับเป็นตัวช่วยให้คุณเลือกซื้ออุปกรณ์ที่เหมาะสม และถูกต้องในการใช้งานได้อย่างตรงจุด