แหล่งจำหน่าย กล่องทีวีดิจิตอล กล่องดิจิตอลทีวี และ กล่องจานดาวเทียม อัพเดตใหม่รองรับเพื่อปี 2020 กล่องดาวเทียมมีให้เลือกทั้ง C band และ KU band ขายส่งในราคาถูกที่สุด จากแหล่งบ้านหม้อ ส่งสัญญาณเข้าทีวีได้คมชัดด้วยระบบ HD ยี่ห้อไหนดี ๆ แบบไหนดี ๆ เรานำมาจำหน่าย ไม่ต้องไปหาซื้อกล่องดิจิตอลที่ไหน เลือกให้ HVGROUP เป็นผู้ช่วยคุณได้เลย ตอบโจทย์เทคโนโลยียุคใหม่กันได้แล้วที่นี่เท่านั้น
หัวข้อสำคัญ
กล่องทีวีดิจิตอลซื้อที่ไหนถึงจะคุ้มค่าที่สุด
หากคุณกำลังมองหากล่องทีวีดิจิตอลที่มีคุณภาพในการใช้งาน รองรับความคมชัดระดับ HD กันอยู่ล่ะก็ ที่ HVGROUP นี่แหละคือทางเลือกสำหรับคุณ สัมผัสประสบการณ์ความบันเทิงไปกับกล่อง Set top box ที่มีให้เลือกหลากหลาย พร้อมอัพเดตกันแล้วในปี 2020 รุ่นใหม่ไฉไลกว่า ไม่ว่าจะเป็นแบบจานดาวเทียม หรือแบบกล่องดิจิตอลทั่วไป ก็พร้อมให้คุณเลือกซื้อรุ่นที่เหมาะสมกับการใช้งานและความต้องการได้แบบไม่มีผิดหวัง
ข้อแตกต่างระหว่างกล่องทีวีดิจิตอลกับกล่องจานดาวเทียม
เพื่อความเข้าใจในการเลือกซื้ออุปกรณ์แห่งความบันเทิงเหล่านี้้ให้ตอบโจทย์ของคุณได้มากที่สุด ลองมาดูควาแตกต่างระหว่างกล่องทีวิดิจิตอล กับจานดาวเทียมกันสักหน่อยว่า สองสิ่งนี้เราควรเลือกแบบไหน แล้วมีอะไรที่ต่างกัน ไปจนถึงข้อดีและข้อเสียที่คุณต้องรู้ก่อนตัดสินใจ
กล่องทีวีดิจิตอล คือ
กล่องดิจิตอลทีวีที่ใช้งานกันอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงการแพร่ภาพแบบอนาล็อกสู่แบบดิจิตอลโดยสมบูรณ์ การส่งด้วยระบบอนาล็อกเดิมจะมีขีดจำกัด ที่พบได้บ่อยคือภาพที่ไม่ค่อยคมชัด และถูกรบกวนสัญญาณได้ง่าย จำนวนช่องมีน้อย เนื่องจากเป็นการผสมระหว่างสัญญาณภาพเข้ากับสัญญาณวิทยุ ทำการบีบอัดทำได้ไม่ดี
การส่งสัญญาณทีนึงต้องใช้ความถี่มาก ทีนี้พอเรากลับมาสู่การใช้กล่องดิจิตอล ก็ตรงตัวอยู่แล้วว่าเป็นการส่งสัญญาณด้วยระบบดิจิตอล สัญญาณภาพและเสียงดีเยี่ยมกว่าแบบเดิมอยู่แล้ว โดยเฉพาะความถี่ที่มีประสิทธิภาพ บีบอัดได้ด้วยการเข้ารหัสค่า 0 และ 1 การส่งสัญญาณให้ความละเอียดที่คมชัดมากกว่าในระดับ HD กันเลยทีเดียว
แน่นอนว่าสิ่งที่เปลี่ยนแปลงอย่างเห็นได้ชัดมากไปกว่านั้น คือจำนวนช่องฟรีทีวีในประเทศไทยที่เพิ่มมากขึ้นถึง 48 ช่อง ใช้งานด้วยการต่อกับจานแดงหรือดำขนาเล็กไม่เกิน 1 เมตร หรือต่อกับเสาก้างปลาปกติทั่วไป นิยมใช้งานกับสมาร์ททีวีหรือแอนดรอยด์ทีวี เนื่องจากมีความคมชัดสูง สัญญาณจะถูกส่งจากเสาสัญญาณภาคพื้นดิน ไปที่เสา จากนั้นจะถูกแปลงสัญญาณที่กล่องดิจิตอลอีกทีนึงเพื่อให้ได้ออกมาเป็นเสียงและภาพที่มีความคมชัด
กล่องทีวีดิจิตอล จะมีช่องรายการที่น้อยกว่าหากเทียบกับการใช้จานดาวเทียม แต่ถ้าใครไม่ติดว่าจะดูช่องพิเศษ ๆ แล้วล่ะก็ แค่นี้ก็ถือว่าคุ้มค่ากับการใช้งาน เพราะเป็นช่องมาตรฐานทั่วไปที่เราดูกันอยู่แล้ว ความแตกต่างของภาพก็เป็นสิ่งหนึ่งที่เริ่มมีผล เพราะทีวียุคใหม่เริ่มเป็นสมาร์ททีวี ดังนั้นกล่องชนิดนี้จะมีความคมชัดระดับ HD มากกว่าเพราะเป็นการส่งสัญญาณในระดับภาคพื้นดิน และมีราคาที่ถูกกว่า
อย่างไรก็ตามข้อเสียที่เราประสบพบเจอกันบ่อย ๆ เลยก็คือ ฝนตก ฟ้าร้อง…สัญญาณล่ม ทำงานไม่ได้ หรือบางจุดที่อยู่ไกลเสาสถานีมาก ๆ ไม่มีการเดินสายที่ดี สัญญาณจะอ่อน มีคลื่นรบกวนมาก เรียกได้ว่าจะบอบบางกว่าในด้านการรับส่งสัญญาณ
กล่องจานดาวเทียม คือ
สำหรับการใช้งานตัวกล่องจานดาวเทียม คือการรับสัญญาณโดยตรงจากดาวเทียมสื่อสารที่โคจรอยู่รอบโลกโดยตรง ซึ่งจะต้องมีตัวรับสัญญาณคือเสาอากาศรูปโค้ง หรือจานแดงหรือดำ ที่เราเห็นทั่วไป ต่างจากจานของกล่องดิจิตอลคือขนาดที่ใหญ่กว่า ขนาดประมาณ 2-3 เมตร และมีราคาสูงกว่า ซึ่งแน่นอนว่าสามารถรับสัญญาณได้ดีกว่าด้วย เมื่อเสาโค้ง(จานใหญ่) รับสัญญาณจากดาวเทียม จะถูกส่งเข้าตัวแปลงสัญญาณอีกทีหนึ่ง ซึ่งก็คือส่วนของกล่อง เพื่อเปลี่ยนเป็นภาพและเสียงให้เราได้รับชม
ข้อดีที่เห็นได้ชัดคือเหมาะสำหรับบ้านที่อยากดูช่องรายการทีวีเยอะ ๆ ซึ่งสำหรับตัวจานดาวเทียมจะมีจำนวนช่องมากกว่า และมีช่องพิเศษที่กล่องดิจิตอลไม่มีอยู่ด้วย นอกจากนี้ขนาดจานดำมีขนาดใหญ่ เป็นแบบโปร่ง รับสัญญาณตรงจากดาวเทียม ทำให้ไม่ต้องกลัวสัญญาณล่มเวลาฝนตก พายุเข้า ไม่เกี่ยงพื้นที่ว่าจะอยู่ตรงไหน การส่งสัญญาณมีความเสถียร และหมดกังวลเรื่องสัญญาณรบกวนไปได้เลย
อย่างไรก็ตามข้อเสียของกล่องตัวนี้คือ จานที่ใช้รับสัญญาณมีราคาสูงกว่า ความคมชัดน้อยกว่า เพราะระยะการส่งสัญญาณที่ไกล จึงต้องถูกบีบอัดมากขึ้น รายละเอียดที่คมชัดบางส่วนจึงสูญเสียไป
ส่วนใครจะเลือกใช้กล่องแบบไหน ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลาย ๆ อย่าง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องราคาที่ต่างกันอย่างชัดเจน รองลงมาคือความคมชัด จำนวนช่อง และปัญหาของสัญญาณรบกวน ถ้ามีงบจำกัดก็แนะนำให้เลือกใช้กล่องดิจิตอลปกติ เพราะในปัจจุบันก็มีการพัฒนาเรื่องสัญญาณรบกวนให้ดีขึ้น ยกเว้นแค่ตอนฝนตกที่อาการจะเริ่มกลับมา การรับชมจะมีความคมชัดเหมาะกับสมาร์ททีวีมากกว่า
ส่วนใครอยากดูแบบจัดเต็มจำนวนช่องเยอะ ๆ ดูแบบไม่มีอะไรมารบกวนความบันเทิง และมีงบมากพอ ไม่เกี่ยงเท่าไหร่กับสัญญาณภาพที่อาจมีปัญหาเรื่องความไม่คมชัดบ้าง อย่างช่องที่เปลี่ยนเป็น HD แล้ว เมื่อใช้งานผ่านจานดาวเทียมจะดรอปคุณภาพลงไปเล็กน้อย หรือคนที่ยังอยู่ในพื้นที่ ๆ รับสัญญาณดิจิตอลไม่ดีนัก ก็สามารถเลือกใช้เป็นระบบนี้ได้ ซึ่งกล่องแปลงสัญญาณก็เริ่มพัฒนามากขึ้นเช่นเดียวกัน ไม่แน่ว่าอนาคตคุณภาพอาจไล่เลี่ยกันก็เป็นได้
จานดาวเทียมแบบไหนดีมีกี่แบบ
จานดาวเทียมที่เราคุ้นหูจะแบ่งออกเป็น 2 รุ่นคือ KU band และแบบ C band ซึ่งจะมีความแตกต่างกันดังต่อไปนี้ คื
-
-
จานดาวเทียมแบบ KU band
-
ลักษณะของจานดาวเทียมชนิดนี้ จะเป็นจานสีทึบ มีขนาดเล็กเริ่มตั้งแต่ 35 cm., 60 cm. และอีกขนาดคือ 75 cm. การส่งคลื่นความถี่จะอยู่ที่ 10-12 GHz เป็นคลื่นความถี่สูง ใช้งานด้วยการส่งสัญญาณแค่ภายในประเทศได้เท่านั้น เนื่องจากครอบคลุมพื้นที่ไม่มากนัก แต่ด้วยความสะดวกในการใช้งาน สวยงามไม่เทอะทะ ตัวจานมีขนาดกะทัดรัด จะติดตั้งหรือถอดเคลื่อนย้ายได้ง่าย สามารถรับชมช่องรายการได้ประมาณ 100 ช่อง
อย่างไรก็ตามการรับสัญญาณถือว่าดีเยี่ยม ให้ความคมชัดสูง แต่ด้วยความยาวคลื่นเท่ากับเม็ดฝน เมื่อใดก็ตามที่ฝนตก พายุเข้า จะไม่สามารถรับชมได้ คลื่นความถี่สูงของตัวจานก็ไม่สามารถที่จะทะลุผ่านฝนได้อีกด้วย ดังนั้นภาพจะเกิดอาการขาด ๆ หาย ๆ กระตุกดูไม่ได้ เป็นเหตุให้สัญญาณภาพจะล่มเมื่อฝนตกหนัก (Rain fade) กันได้เลยทีเดียว
-
-
จานดาวเทียมแบบ C band
-
จานดาวเทียมที่เป็น C band เป็นรุ่นที่แตกต่างจากแบบแรกอย่างชัดเจนคือขนาดของตัวจานที่ใหญ่กว่า 2-3 เท่า มีน้ำหนักมาก ลักษณะจานโค้งจะโปร่งเหมือนตะแกรงเคลือบด้วยสีดำ คลื่นความถี่ต่ำอยู่ที่ 3.4-4.2 GHz ซึ่งจะให้การส่งสัญญาณที่มีความกว้าง รับสัญญาณโดยตรงจากดาวเทียมที่โคจรรอบโลก สามารถรับชมช่องรายการได้มากกว่าครอบคลุมแบบทั่วทั้งทวีป ความยาวคลื่นมากกว่าเม็ดฝน ดังนั้นจึงใช้งานได้ทุกสถานการณ์ ไม่ว่าจะฝนตกฟ้าร้อง หรืออยู่ไกลเสาสัญญาณก็ไม่ต้องกลัว เพราะเป็นการรับสัญญาณโดยตรงจากดาวเทียมนอกโลก
เมื่อต้องการช่องพิเศษก็สามารถซื้อเพิ่มได้ คุณสามารถรับชมช่องรายการในทวีปเอเชีย และยุโรปที่รองรับได้อย่างหลากหลาย และมีช่องฟรีทีวีที่เหมือนกับ KU band ภาคพื้นดินด้วย รวมกันแล้วดูได้มากกว่า 200 ช่อง
ตัวจานรุ่นนี้จะสามารถรองรับการใช้งาน ระบบ KU-Band ได้ โดยใช้หัวรับสัญญาณที่เรียกว่า LNBF(Low Noise Block Down Frequency) เป็นตัวช่วยแปลงสัญญาณความถี่สูงให้ต่ำลง จึงทำให้สามารถรับคลื่นสัญญาณของจานเล็กได้ แต่ถ้าสลับใช้งานกัน เอา KU-Band ไปใช้กับ C-Band จะไม่สามารถทำได้ ยกเว้นบางรุ่นที่ผลิตออกมาพิเศษให้สามารถใช้งานได้แบบ 2in1
อย่างไรก็ตามระบบ C band จานมีขนาดที่ใหญ่ การติดตั้งจะยากกว่า ต้องหาตำแหน่งที่มั่นคงในการติดตั้ง ใช้พื้นที่มาก และต้องมั่นใจว่าติดตั้งได้สมบูรณ์ ไม่หักเอนเมื่อต้องเผชิญกับลมพายุ
ถ้าจะถามว่า จานดาวเทียมแบบไหนดี ? นั้นก็ต้องขึ้นอยู่กับลักษณะการใช้งานของแต่ละคน ทุนทรัพย์ และพื้นที่ในการติดตั้ง เนื่องจากทั้งสองรุ่นมีความแตกต่างกันอยู่พอสมควร มีข้อดีและข้อเสียที่ขึ้นอยู่กับว่าใครรับได้ ใครรับไม่ได้ ถ้าใครโอเคกับปัญหาฝนตกแล้วภาพล่ม ก็สามารถเลือกเป็นรุ่นเล็ก แต่ถ้าใครไม่ต้องการเจอปัญหาหยุมหยิมแบบนี้ ก็กัดฟันจัดชุดใหญ่ไปเลยก็ได้ ดังนั้นลองพิจารณากันตามไลฟ์สไตล์การใช้งาน และข้อดีข้อเสียของทั้งสองจานเอามาเปรียบเทียบกันดูให้ดีก่อนตัดสินใจ
วิธีเลือกซื้อ กล่องดิจิตอลทีวีและกล่องดาวเทียมแบบ HD และ SD
ยุคนี้ใคร ๆ ก็เลือกใช้กล่องดิจิตอลทีวี มีวางจำหน่ายมากมายในท้องตลาด ราคาที่แตกต่างกัน ประสิทธิภาพของกล่องดิจิตอล ซึ่งก็คือกล่องจานดาวเทียมนั้นก็อาจต่างกันออกไปด้วย
ดังนั้นจะให้เลือกซื้อแบบไหนที่ดีต่อการใช้งานแล้วล่ะก็ ควรพิจารณาว่ากล่องดังกล่าวเป็นแบบ HD และ SD ในเครื่องเดียวหรือไม่ ถ้าใช่ก็ให้เก็บยี่ห้อนี้ไว้ในใจ แล้วพิจารณากันต่อว่าแต่ละแบรนด์ผ่านการรับรองจาก กสทช. ด้วยหรือเปล่า มีมาตรฐาน มอก. หรือไม่ การวางขายในประเทศไทยจะต้องได้รับการรับรองจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องนี้ ซึ่งจะช่วยให้เรามั่นใจได้ว่าสามารถรับสัญญาณดิจิตอลได้ชัวร์ ไม่ใช่ซื้อมาแล้วขึ้นจอดำ
นอกจากนี้ตัวกล่องที่ดีจะต้องสแกนสัญญาณได้ไว สลับเปลี่ยนช่องได้รวดเร็วและง่ายดาย ไม่เกิดอาการดีเลย์กว่าจะเลื่อนเปลี่ยนช่องได้ และจะต้องมีช่อง HDMI สำหรับเชื่อมต่อกับทีวียุคใหม่ มี Port สำหรับเชื่อมต่อสัญญาณภาพและเสียงได้ ให้เหมาะสมกับทีวีของคุณ เพราะบางคนยังใช้ทีวีรุ่นเก่า อาจจำเป็นต้องใช้ Port ที่รองรับ นอกจากนี้อย่าลืมดูว่าทุกกล่องต้องมี “รีโมทคอนโทรล” มาให้ใช้งาน มีการรับประกันสินค้าอย่างน้อยต้อง 6 เดือนขึ้นไป มีราคาถูก ไม่แพงจนเกินไปด้วย
เลือกซื้อกล่องทีวีดิจิตอล (Set-top box) ยี่ห้อไหนดี ?
ยี่ห้อของกล่องทีวีดิจิตอล และกล่องจานดาวเทียมทั้งหลาย มีให้เลือกมากมายเสียเหลือเกินในท้องตลาด จนไม่รู้ว่าจะหยิบยี่ห้อไหนถึงจะใช้งานได้ถูกใจและคุ้มค่า ได้สเปกที่ตรงใจกับการใช้งาน เอาจริง ๆ ในปัจจุบัน สิ่งที่เราต้องเลือกดูก่อนเลือกยี่ห้อคือ “มันเข้ากับทีวีที่บ้านได้ไหมหนอ…”
เราต้องเข้าใจอันดับแรกคือสัญญาณดิจิตอลในประเทศไทยเป็น DVB-T2 จะมาใช้ยี่ห้อที่รองรับ DVB-T อันนี้ไม่ได้ เพราะฉะนั้นถ้าอยากให้มั่นใจก็ต้องมีสัญลักษณ์ “น้องดูดี” ที่ออกแบบโดย กสทช. ติดเอาไว้ การันตี หรือจะเป็น สติกเกอร์ตราครุฑของกระทรวงแปะไว้ด้วย คือมั่นใจได้ว่า Set-top box กล่องนี้ ใช้การได้ล่ะ
ทีนี้มาดู “ช่องเสียบ” ที่ใช้สำหรับเชื่อมต่อ อย่างที่บอกไปว่าทีวีแต่ละบ้านไม่เหมือนกัน บางคนเป็นสมาร์ท บางคนยังเป็นจอแก้วก้นใหญ่อยู่ แต่โดยส่วนใหญ่ทีวีพวกสมาร์ทหรือแอนดรอยด์ทั้งหลายจะไม่ค่อยมีปัญหา เพราะตัวกล่องดิจิตอลทีวี จะมีพอร์ต HDMI มาเป็นหลักให้อยู่แล้ว แต่ถ้าเป็นทีวีแบบเก่ามาหน่อย อันนี้ก็จะปวดหัวแล้ว เพราะต้องใช้ช่องเสียบ AV หรือ Analog ที่เป็นหัวกลม ๆ สีเหลือง แดง ขาว ส่วนนี้ก็ต้องดูที่ทีวีบ้านท่าน แล้วค่อยหันมาดูที่ก้นเสียบเชื่อมต่อของกล่อง Set-top box ว่าจะเชื่อมต่อกันได้ไหม เกิดซื้อมาผิด มันจะต้องมาวิ่งหาตัวแปลงกันให้วุ่นวาย เสียน้อยเสียยากไปอีก
และนอกจากนี้อย่าลืมเลือกซื้อยี่ห้อที่มีหน้าปัดแสดงตัวเลขบอกช่อง เพราะจะได้รู้ว่าตอนนี้เรากำลังเปิดใช้งานช่องไหน เนื่องจากฟรีทีวีที่มีให้ดูมากกว่า 48 ช่อง จะได้จำได้ว่าชอบดูช่องไหน หรือกำลังเปิดไปถึงไหนแล้ว ถือว่าเป็นสิ่งจำเป็นเพิ่มความสะดวกสบายในการใช้งานได้อย่างมากทีเดียว กล่องยี่ห้อไหนไม่มีหน้าจอ ก็ปัดตกไม่ซื้อไปเลย เพราะบอกเลยว่าถ้าเอาแบบนั้นจะมานั่งปวดหัวทีหลัง ซื้ออันใหม่ไม่จบไม่สิ้นเป็นแน่
คำแนะนำการติดตั้งกล่องทีวีดิจิตอลและจานดาวเทียม
วิธีติดตั้งกล่องดิจิตอล
อย่างที่บอกไปด้านบนว่ากล่องดิจิตอลทีวีจะต้องเป็นยี่ห้อที่สามารถใช้งานกับทีวีที่บ้านของคุณได้ ดังนั้นเมื่อเลือกซื้อมาอย่างถูกวิธี ก็จะไม่ใช่เรื่องยากในการติดตั้ง กรณีเป็นการเชื่อมต่อแบบสาย AV (เหลือง แดง ขาว) ให้ต่อสายทั้ง 3 ตรงกับรูเสียบทีวีที่ช่องเสียบ input เท่านั้น โดยสีเหลืองจะเป็น Video-in, สีขาวและแดงจะเป็นเสียงลำโพงซ้ายขวา แล้วให้ต่อสายสัญญาณที่มาจากจานดาวเทียมเสียบเข้าไปที่ช่อง ANT-IN แค่นี้ก็เรียบร้อย
แต่กรณีที่เป็นทีวีแบบสมาร์ทหรือแอนดรอยด์ ไม่ต้องใช้ช่องเสียบ AV อีกต่อไป เพราะจะมีช่อง HDMI มาให้ ก็เสียบเชื่อมต่อ HDMI-in เข้าไป แล้วต่อสายสัญญาณ ANT-IN ที่มาจากตัวรับสัญญาณ แล้วเปิดทีวีขึ้นมาพร้อมสำหรับการจูนสัญญาณได้เลย
วิธีติดตั้งจานดาวเทียม
-
- อุปกรณ์หลักคือจานดาวเทียมที่รองรับ Ku-Band หรือ C-Band ขึ้นอยู่กับว่าเราเลือกใช้กล่องทีวีแบบไหน ถ้าเป็นจานขนาดใหญ่ ควรเตรียมพื้นที่ในการติดตั้งเอาไว้ให้พร้อมและมั่นใจว่าเป็นพื้นที่ด้านทิศตะวันตกหรือตะวันตกเฉียงใต้ รอบ ๆ ไม่มีอะไรมาบดบังในระยะเงยหน้าประมาณ 60 องศา ส่วนจานเล็ก หามุมติดตั้งที่โปร่งโล่ง เพื่อให้สัญญาณถูกส่งมาได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ
- ประกอบจานดาวเทียมและอุปกรณ์ให้พร้อม คือส่วนของตัวรับสัญญญาณและสายสัญญาณเข้าด้วยกัน และจัดวางเอาไว้ในตำแหน่งที่เป็นไปตามข้อแรก ปรับมุมจานเงยขึ้นประมาณ 60 องศาในทิศทางที่ถูกต้อง เมื่อมั่นใจว่าได้ตำแหน่งที่ถูกต้องแล้ว ก็ทำการยึดขาจานกับพื้นหรือผนังให้เรียบร้อยได้เลย แล้วเดินสายสัญญาณไปที่เครื่องรับสัญญาณ
- เปิดทีวีขึ้นมาเพื่อทำการตั้งค่า โดยให้มั่นใจว่าได้ต่อสายสัญญาณเข้ากับเครื่องรับสัญญาณ และต่อสาย AV ไปยังทีวีแล้วถึงจะเปิดเครื่องได้
- ทีวีจะแสดงแถบการค้นหาช่องรายการ ใช้เวลาในการสแกนประมาณ 10 นาที สังเกตว่าแถบขึ้น 100% ถือว่าเสร็จสมบูรณ์
- หากพบว่าไม่สามารถรับชมช่องรายการได้ ให้ไปปรับมุมเอียงหรือมุมกวาดของจานดาวเทียมเพื่อรับสัญญาณจากดาวเทียมทีละนิด เพื่อค้นหาย่านความถี่ที่ดีที่สุด แล้วมาทำการสแกนหาสัญญาณใหม่จนได้เปอร์เซ็นต์เต็มแถบ ทีนี้ก็เป็นอันเสร็จเรียบร้อย พร้อมชมความบันเทิงของคุณได้เลย
ถ้าอยากปรึกษาข้อมูลเรื่องอุปกรณ์ กล่องจานดาวเทียมหรือกล่องดิจิตอล สามารถสอบถามข้อมูลกับร้าน HVGROUP ร้านขายส่งที่พร้อมให้คุณได้เลือกสรรยี่ห้อที่ต้องการได้ ถูกและดีที่สุดในแหล่งบ้านหม้อ มั่นใจว่าคุณจะได้ใช้งานสินค้าที่มีคุณภาพ พร้อมได้ความรู้แน่น ๆ เอาไปใช้หรือเอาไปขายต่อได้กำไรงาม ๆ อย่างแน่นอน